ประวัติศาสตร์ยาหม่อง ยาครอบจักรวาล

             หากนึกถึงยาสรรพคุณครอบจักรวาล หลายๆคนต้องนึกถึง ‘ยาหม่อง’ อย่างแน่นอน หากเราย้อนนึกถึงวัยเด็กของเรา เราน่าจะเห็นพ่อแม่พี่น้องของเราใช้ยาหม่องทา ถู นวด เพื่อบรรเทาอาการสารพัดจนชินตา คุณในวัยเด็ก ก็อาจจะเคยให้คุณพ่อคุณแม่นำยาหม่อง (ขี้ผึ้งกลิ่นสมุนไพร) ตลับกลมๆสีส้มๆ มาทาให้เราตอนเป็นหวัด เวียนหัว ปวดเมื่อย หรือโดนแมลงกัดต่อยกันบ้าง

ยาหม่องถูกใช้จากรุ่นสู่รุ่นมาอย่างยาวนาน ถ้าให้นึกถึงยาหม่อง ‘ถ้วยทอง’ ก็เป็นชื่ออันดับต้นๆ ที่คนไทยต้องนึกถึง ด้วยสโลแกน ‘ทาถู ทาถู’ และ ‘มิตรคู่เรือน เพื่อนคู่ตัว’ ก็ยังคงติดหูคนทุกรุ่น ใครที่เห็นตลับยาสีส้มๆ กลมๆ ก็น่าจะต้องนึกถึง ‘ถ้วยทอง’ ทันที

แต่สิ่งที่หลายๆคนไม่ทราบก็คือ ที่มาของยาหม่องในอดีต แท้จริงแล้วมีที่มามาจากที่ไหนกันแน่? (ไม่ใช่ที่ไทยหรอ?) และยาหม่องโดยปกติแล้วมีสมุนไพรหลักๆอะไรบ้าง? วันนี้น้องถ้วยทองจะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน


ยาหม่องคืออะไร?

‘ยาหม่อง’ จัดเป็นยาสามัญประจำบ้านของไทย มีลักษณะเป็นขี้ผึ้งเนื้อเหลวอ่อน มีกลิ่นหอมจากส่วนผสมของสมุนไพรหลายชนิด ใช้สำหรับทา ถู นวด บรรเทาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย หน้ามืดตาลาย วิงเวียนศีรษะ คัดจมูกเนื่องจากหวัด ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งมาจากสรรพคุณของตัวยาสมุนไพรและน้ำมันหอมระเหยชนิดต่างๆ ที่ผสมรวมกันในยาหม่องนั่นเอง

สมุนไพรที่สำคัญในยาหม่อง

ส่วนประกอบสำคัญในยาหม่องมาจากการผสมผสานของสมุนไพรธรรมชาติ อาทิ

·         น้ำมันยูคาลิปตัส

ที่มาจากพืชที่มีกลิ่นหอมเย็น ช่วยให้รู้สึกโปร่งโล่งเมื่อสูดดม โดยทั่วไปแล้วยูคาลิปตัสนิยมนำมาสกัดให้เป็นน้ำมันหอมระเหย และใช้เป็นส่วนประกอบในยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เช่น น้ำยาบ้วนปาก ยาอม ยาแก้ไอ เป็นต้น อ้างอิงจากเว็บไซต์ Pobpad น้ำมันยูคาลิปตัสมีสรรพคุณอยู่หลักๆ คือ

1.        ลดอาการปวดจากข้ออักเสบ

เนื่องจากยูคาลิปตัสมีส่วนประกอบของสารต้านอนุมูลอิสระที่ประสิทธิภาพสูง อย่างอัลฟาไปนีนและยูคาลิปทอลที่อาจช่วยลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวดจากโรคข้อเสื่อมได้ดี

2.        บรรเทาอาการไอ

สารซิเนออลที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในน้ำมันยูคาลิปตัสอาจช่วยยับยั้งบรรเทาอาการไอจากโรคในระบบทางเดินหายใจได้ เพราะเชื่อว่ามีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ละลายเสมหะและขยายหลอดลม

อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำมันยูคาลิปตัสควรมีการเจือจางก่อนนำไปทาผิวหรือกิน เนื่องจากน้ำมันยูคาลิปตัสที่มีความเข้มข้นอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้ ซึ่งอาจสังเกตผลข้างเคียงเหล่านั้นได้จากอาการรุนแรง เช่น วิงเวียนศีรษะ ปวดแสบท้อง กล้ามเนื้ออ่อนแรง รูม่านตาหดเล็กลง และหายใจไม่ออก

·         เกล็ดสะระแหน่ หรือ เมนทอล

มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่นและรสชาติหอมเย็น ซึ่งมาจากการสกัดจากใบสะระแหน่ไทย มินท์ หรือ สะระแหน่ฝรั่ง อ้างอิงจาก เว็บไซต์ Wangpromherb ได้ระบุสรรพคุณของเกล็ดสะระแหน่ไว้ เช่น บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย คลื่นไส้อาเจียนบรรเทาอาการหวัด คัดจมูกแก้ไอ แก้ไข้ ลดการกระหายน้ำ ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ขับปัสสาวะ ช่วยคลายเครียดและแก้ปวดศีรษะได้ ช่วยขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่น และลดการบวมของหลอดเลือดที่จมูก เป็นต้น

·         การบูร

เป็นผลึกเล็กๆ สีขาวแห้งๆ จากต้นการบูร เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สามารถระเหิดเมื่อทิ้งไว้ในอากาศ พบเห็นได้ตามรอยแตกของต้น โดยเฉพาะช่วงโคนต้น และราก การบูร อ้างอิงจาก Thaicrudedrug ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวถึงสรรพคุณของการบูร ได้แก่ แก้เคล็ดบวม ขัดยอก แพลง แก้กระตุก แก้ปวดข้อ แก้ปวดเส้นประสาท แก้รอยผิวหนังแตก แก้พิษแมลงต่อย และโรคผิวหนังเรื้อรัง เป็นยาระงับเชื้ออย่างอ่อน ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ไข้หวัด และขับลม บำรุงธาตุ บำรุงกำหนัด ยากระตุ้นหัวใจ บำรุงหัวใจ เป็นต้น

สรรพคุณต่างๆของสมุนไพรเหล่านี้ เมื่อนำมาผสมผสานกลายเป็นยาหม่องในสัดส่วนที่เหมาะสมลงตัว จึงมีสรรพคุณทางยาในการบรรเทาอาการได้หลากหลาย สามาถใช้ดม ใช้ทา ไม่ว่าจะใช้ทาบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ เป็นหวัดคัดจมูก ใช้ถู นวด บรรเทาอาการเคล็ด ขัดยอก ฟกช้ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ อาการเนื่องจากแมลงกัดต่อย

 

ทำไมเรียกว่า ‘ยาหม่อง’?

ยาหม่องที่มีต้นตำรับมาจากประเทศจีน และมีการนำตำรับเข้ามาในไทยโดยส่งผ่านมาทางพม่าโดยทายาทของแพทย์สมุนไพรจีน ในสมัยนั้นคนไทยเรียกชาวพม่าว่า ‘หม่อง’ เมื่อมีการนำยาขี้ผึ้งชนิดนี้เข้ามาจากพม่าเข้ามาใช้ในไทย คนไทยที่ยังไม่คุ้นเคยกับยาชนิดนี้ ทราบเพียงแค่มีที่มามาจากชาวพม่า จึงได้เรียกยาตัวนี้ว่า ‘ยาหม่อง’ ซึ่งก็แปลตรงตัวได้ว่า ยาที่มาจากพม่า นี่ก็เป็นที่มาของชื่อ ‘ยาหม่อง’ ชื่อที่เราคุ้นเคยนั่นเอง แต่การจะทำให้ยาหม่องเป็นที่รู้จักและเข้าถึงผู้บริโภคได้ทุกวัย ยาจะต้องตอบโจทย์ทั้งในเรื่องของประสิทธิภาพการรักษา กลิ่นที่หอมถูกใจ ความรู้สึกร้อนเย็นที่พอดีและความรู้สึกสบายผิวเมื่อใช้บริเวณที่ถูนวด โดยยาหม่องในสมัยนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนสูตรให้มีความเหมาะสมและเป็นที่ชื่นชอบตอบโจทย์ผู้บริโภคในประเทศไทยและประเทศเขตร้อนมากขึ้นจนกลายมาเป็นยาหม่องตราถ้วยทองในปัจจุบัน

ธุรกิจยาหม่องในไทยกับแบรนด์ชั้นนำ “ตราถ้วยทอง” มิตรคู่เรือน เพื่อนคู่ตัว"

‘ยาหม่องตราถ้วยทอง’ ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2487 ในร้านขายของชำลี้เปงเฮง ซึ่งตั้งอยู่ในย่านตลาดพลู กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นยาที่มีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แมลงกัดต่อย อาการวิงเวียนศีรษะ และคัดจมูกเนื่องจากหวัด

ในปี พ.ศ. 2493 ได้จดทะเบียน “บริษัท ถ้วยทองโอสถ จำกัด” กับกระทรวงพาณิชย์ และทำการขึ้นทะเบียนยากับสำนักคณะกรรมการอาหารและยา ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 บริษัท ถ้วยทองโอสถ จำกัด ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่บนถนนจรัญสนิทวงศ์ เขตบางกอกใหญ่ และได้ดำเนินการผลิตมาจนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2542 บริษัทได้ยื่นขอรับการตรวจมาตรฐานการผลิตยาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และได้รับการรับรองในปีเดียวกัน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 บริษัท ถ้วยทองโอสถ จำกัด ได้ย้ายที่ทำการผลิตยามายังจังหวัดนนทบุรีเพื่อปรับปรุงสถานที่ผลิตให้รองรับมาตรฐานการผลิตยาที่ดีขึ้นและได้รับรองมาตรฐานการผลิตยาที่ดี ตามมาตรฐาน PIC/S ซึ่งเป็นมาตรฐานโลกที่มีประเทศสมาชิกในมาตรฐานนี้ทั่วโลก ทั้งในทวีปยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย แอฟริกา และเอเชีย

             ที่มาของยาหม่องที่เราใช้กัน และสมุนไพรสำคัญที่ทำให้ยาหม่องมีสรรพคุณมากมาย แท้จริงแล้วมีที่มามาจากประเทศจีน โดยได้ชื่อมาจากประเทศเมียนม่า หรือ พม่าในสมัยนั้น โดยยาหม่องจะมีส่วนประกอบสำคัญอย่าง น้ำมันยูคาลิปตัส การบูร เมนทอล ซึ่งมีสรรพคุณทางยาที่ดีต่อร่างกายมากมาย นอกจากนั้นยังมีสมุนไพรอีกหลายชนิดที่ดีต่อสุขภาพและยังไม่ได้กล่าวถึงในบทความนี้ อย่างไรก็ตาม หากนำตัวยาสมุนไพรมาใช้อย่างผิดวิธีหรือเกินความจำเป็นอาจส่งผลลบต่อสุขภาพร่างกายได้ ทางที่ดีเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานสากล ไม่มีส่วนผสมของสารเคมีอันตราย และมาจากสารสกัดจากธรรมชาติจะดีที่สุดเพื่อความมั่นใจและปลอดภัยของร่างกาย

อย่างยาหม่องตราถ้วยทอง สินค้าคู่บ้านในตำนานของไทยกว่า 70 ปี ที่มีกลิ่นหอมจากสมุนไพร ให้ความรู้สึกผ่อนคลายออกฤทธิ์เป็นหลัก ทำให้บริเวณที่ทาอุ่นขึ้น สร้างปฏิกิริยาทำให้เลือดหมุนเวียนดีขึ้น ซึ่งช่วยร่างกายในการบรรเทาอาการเจ็บปวดต่างๆ อีกทั้งยังให้ความรู้สึกอ่อนโยน และไม่ทิ้งความรู้สึกเหนียวที่ผิวสัมผัส สั่งซื้อได้แล้วที่นี่

อย่าลืมสินค้า Must have item ของวัยรุ่นยุคปัจจุบัน ‘ยาดมตราถ้วยทอง’ นอกจากจะบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะและคัดจมูก ในหลอดเดียว ยังอัดแน่นไปด้วยคุณค่าจากสมุนไพรอย่างการบูร เมนทอล น้ำมันยูคาลิปตัส และน้ำมันกานพลู นอกจากนี้ ยังมีกลิ่นให้เลือกสรรได้ตามชอบ ได้แก่ กลิ่นลาเวนเดอร์ ที่คนชอบยาดมโปรดปรานมากที่สุด ด้วยความหอมเฉพาะจากตัวน้ำมันหอมระเหยจากดอกลาเวนเดอร์ที่มอบความรู้สึกผ่อนคลาย เย็นสบาย ดมแล้วช่วยให้นอนหลับง่าย หลับสนิท

อีกกลิ่นคือ ‘เลมอน’ ซึ่งแตกต่างจากลาเวนเดอร์อย่างสิ้นเชิงตรงที่หอมสดชื่น ดมแล้วรู้สึกกระปรี้กระเปร่า มีชีวิตชีวา นับว่าเป็นตัวเลือกให้กับเหล่าวัยรุ่น ภายใต้สโลแกน ‘เพื่อนคู่ตัว ยาดมคู่ใจ’ และคนทุกวัยได้เลือกใช้ตามรสนิยม ในขนาดพกพากับราคาที่ย่อมเยา น่าลองมากๆกลิ่นลาเวนเดอร์หลอดสีม่วง และ เลมอนหลอดสีเขียว

ไม่ใช่แค่ยาดมที่กำลังอินเทรนด์ ยังมี ‘คิดดี้บาล์ม’ สำหรับเด็ก ยาหม่องที่ใช้สูตรละเอียดอ่อนกว่าเดิม โดยมีส่วนผสมของการบูร เกล็ดสะระแหน่ และน้ำมันยูคาลิปตัส อยู่เช่นเคย แต่ลดความเข้มข้นจากยาหม่องตราถ้วยทองสูตรปกติลง เพื่อความอ่อนโยน เหมาะสมกับผิวบอบบางของน้องๆ หนูๆ ที่มีอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ทาแล้วบรรเทาอาการ ปวด บวม คันจากแมลงกัดต่อย พร้อมกลิ่นหอมอ่อนๆ ด้วย ‘คิดดี้ บาล์ม สีเขียว’ ตลับสีเขียว และ ‘คิดดี้ บาล์ม สีขาว’ ตลับสีชมพูลดอาการคัดจมูกเนื่องจากหวัด หอมอ่อนๆเย็นเบาๆ เพียงทาเบาๆ บริเวณหน้าอก คอ และหลังของเด็ก

ทั้งสองสูตรยังมาพร้อมขนาด 22 กรัม พกพาสะดวก พร้อมกลิ่นหอมอ่อนๆ เอาใจคุณแม่กับลูกน้อยเป็นพิเศษ

ใครอยู่สายเฮลตี้ยกมือขึ้นพร้อมไมโอครีมครีมบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ที่คนรักสุขภาพควรมีติดตัวไว้ ไมโอครีมออกมาในรูปแบบหลอดขนาด 50 กรัม บรรจุเนื้อครีมเข้มข้นที่รวมพลังจากสมุนไพรอย่างน้ำมันระกำ เกล็ดสะระแหน่ กับน้ำมันกานพลูมาช่วยแก้ปวดบริเวณกล้ามเนื้อ ช่วยผ่อนคลาย ทาได้ทั้ง คอ บ่า ไหล่ เอว ขา แขน และบริเวณที่มีอาการจุดเด่นอีกอย่างคือทาง่าย นวดสบาย ซึมเร็ว ทั้งยังอ่อนโยนต่อทุกสภาพผิวเป็นที่สุด


พิเศษ! รับโบนัสไม่จำกัดเพียงแนะนำสินค้าของเราและสะสมยอดขายตามกำหนด สนใจแนะนำสินค้าของเราคลิกที่นี่


อ้างอิง:

Line Today ,Tuemaster , Krungsri , Thaicrudedrug , Pobpad , Scimath 


ผู้เขียน:

ดนุสรณ์ ชาติเจริญสิทธิ์

ผู้เรียบเรียง:

ภญ. หทัยรัตน์ พงษ์แสร์

Facebook