สาเหตุที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย

ปวดกล้ามเนื้อแก้ได้

กล้ามเนื้อลายเป็นอวัยวะที่หนักถึง 40% ของน้ำหนักตัว และมีถึง 696 มัด ซึ่งต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา พบว่าประชากรโดยทั่วไปประมาณ 30% ขึ้นไปมีอาการปวดที่มีสาเหตุจากกล้ามเนื้อ เป็นอาการปวดที่พบได้ในชีวิตประจำวันในการทำงานทำกิจกรรมต่าง ๆ

อาการปวดจากกล้ามเนื้อ มีได้หลายลักษณะ เช่น

อาการปวดดังกล่าวอาจไม่ได้เกิดตลอดเวลา อาจเกิดบางครั้งบางคราว เป็น ๆ หาย ๆ ปวดเวลาใดก็ได้ เช่น เช้าตื่นขึ้นรู้สึกตึงขยับลำบาก หรือเมื่อยล้ามากในช่วงเย็น ในบางคนอาจมีอาการชายิบ ๆ บริเวณที่ปวดร่วมด้วย จนทำให้กลัวว่าจะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต

สาเหตุปวดกล้ามเนื้อ สาเหตุหรือสิ่งกระตุ้นที่ทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อไหล่มีการหดรั้ง หรือยึดตึง

จะตรวจพบว่า กล้ามเนื้อที่เป็นสาเหตุของอาการ จะมีจุดกดเจ็บ ซึ่งบางครั้งอาจคลำได้คล้ายก้อน หรือคล้ายมีเชือกที่ขึงตึงอยู่ในกล้ามเนื้อนั้น เมื่อกดนิ้วลงที่จุดกดเจ็บอาจเห็นการกระตุกสั้น ๆ ได้ สิ่งที่มักจะตรวจพบร่วมด้วย คือ  มีการติดยึด หดรั้ง ขยับเคลื่อนไปในทิศทางต่าง ๆ ได้ไม่สุด (ในกรณีที่เป็นไม่มาก) เช่น ข้อไหล่ติด หลังแข็ง ก้มลำบาก เป็นต้น

รักษาปวดกล้ามเนื้อ การรักษาจะต้องทำร่วมกันดังนี้


1. ในระยะแรกที่ปวดมากมักให้ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อร่วมด้วย


2. การคลายจุดกดเจ็บ ซึ่งทำได้หลายวิธี  คือ

3. การฟื้นฟูให้กล้ามเนื้อมัดนั้น ๆ มีความยืดหยุ่นที่ดี และเพิ่มความแข็งแรงทนทานต่องานในชีวิตประจำวันต่าง ๆ ด้วยการบริหารยืดคลายกล้ามเนื้อ  แล้วตามด้วยการบริหารต้านน้ำหนักเมื่ออาการปวดลดลงในเวลาต่อมา

4. สิ่งสำคัญที่จะละเลยไม่ได้ คือ การปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไขท่าทางอิริยาบถต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันให้ถูกต้องเหมาะสม เช่น ไม่ควรมีท่าทางไหล่งุ้มหรือห่อไหล่ไปข้างหน้า รวมทั้งเปลี่ยนแปลงหรือจัดวางเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ รอบตัวให้รับกับท่าทางที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเครียดตึงต่อกล้ามเนื้อ ไม่ให้เกิดการบิดใช้กล้ามเนื้อที่ผิดแนว การเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เช่น ทุก ๆ 15 – 20 นาที  เพื่อให้กล้ามเนื้อที่หดตัวอยู่ได้ผ่อนคลายออกบ้าง

*อ้างอิงโรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า https://www.bangkokinternationalhospital.com/th/health-articles/article-type/muscle-pain